การตลาดและการขาย

หน้าหลัก / การตลาดและการขาย

บริษัทวางแนวคิดกลยุทธ์ทางการตลาดโดยเน้นด้านการเข้าถึงพฤติกรรมการซื้อของลูกค้า เป็นหลัก เนื่องจากเทรนด์การดำเนินธุรกิจในอนาคตนั้นจะไม่ได้จำกัดอยู่แค่ออฟไลน์ หรือโลกออนไลน์เพียงอย่างเดียว แต่ต้องเป็นการผสมผสานจุดแข็งของทั้งสองรูปแบบเข้าด้วยกัน พฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจจบันนิยมเสพสื่อออนไลน์และรักความสะดวกสบายมากขึ้น (Lazy Economy) รวมทั้งภาวะการแข่งขันของตลาดเครื่องสำอางทั้งออฟไลน์และออนไลน์สูงขึ้น ผู้เล่นในตลาดผลิตสินค้าสร้างแบรนด์ของตัวเองเพื่อขายสินค้าออนไลน์โดยตรง รวมถึงจำนวนกระแสเม่ค้าออนไลน์เกิดขึ้นมากมาย

การตลาดแบบ O2O

บริษัทฯมีช่องทางการจัดจำหน่ายทั้งออนไลน์และออฟไลน์ จึงมุ่งเน้นกลยุทธ์ทางการตลาดแบบ O2O ( Online to offline ) เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด โดยทำการตลาดออนไลน์เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้ตราสินค้าพร้อมกับดึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายในออนไลน์ไปซื้อสินค้าที่ออฟไลน์ ส่วนออฟไลน์เป็นช่องทางการกระจายสินค้าสู่ลูกค้าโดยตรงและลดความกังวลของลูกค้าเพราะแบรนด์มีที่ตั้งสามารถจับต้องได้ ในทางกลับกันทำการตลาด ประชาสัมพันธ์และโปรโมชั่นกับกลุ่มลูกค้าออฟไลน์เพื่อดึงดูดให้กลับไปซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ของบริษัทด้วยเช่นกัน

การตลาดแบบ O2O

บริษัทฯมีช่องทางการจัดจำหน่ายทั้งออนไลน์และออฟไลน์ จึงมุ่งเน้นกลยุทธ์ทางการตลาดแบบ O2O ( Online to offline ) เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด

การตลาดแบบ O2O

บริษัทฯมีช่องทางการจัดจำหน่ายทั้งออนไลน์และออฟไลน์ จึงมุ่งเน้นกลยุทธ์ทางการตลาดแบบ O2O ( Online to offline ) เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด

การสร้างแบรนด์

บริษัทดำเนินธุรกิจค้าปลีกเครื่องสำอางและบำรุงผิว ซึ่งประกอบไปด้วย Shop Brand คือ Beauty Buffet และ Product Brands ซึ่งแต่ละแนวคิด มีความแตกต่างกัน ทั้งในด้านของ ตำแหน่งทางการตลาด ราคา การออกแบบ กลุ่มลูกค้าและช่องทางการจัดจำหน่าย ซึ่งทำให้กลยุทธ์ในการสร้างแบรนด์ แตกต่างกันออกไป

  • การสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัว ปัจจัยหลักที่บริษัทมุ่งเน้นในการสร้างให้แบรนด์เป็นที่จดจำของผู้บริโภค คือ การสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวให้กับแบรนด์ (Brand Identity)
  • การสร้างความแตกต่างในการให้บริการ บิวตี้ บุฟเฟต์ มิได้มุ่งเน้นเฉพาะการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์แต่เพียงอย่างเดียว แต่จะมีการนำเสนอแนวคิดด้านความงามครบวงจรควบคู่ไปด้วย (Beauty Solution) ซึ่งลูกค้าที่เข้ามาในร้านจะได้รับการให้บริการที่เป็นกันเอง พนักงานที่ผ่านการอบรมตามมาตรฐานของบริษัทสามารถแนะนำวิธีการแต่งหน้าให้เหมาะสมกับลักษณะเฉพาะของลูกค้าแต่ละราย รวมทั้งแนะนำผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับ สภาพผิว โดยมีวัตถุประสงค์ให้ลูกค้าเกิดความสบายใจที่จะเลือกซื้อสินค้า เกิดความเชื่อมั่นและเข้าถึงสินค้าของบริษัทได้มากขึ้น ซึ่งลักษณะการบริการที่ผู้บริโภคได้รับจะแตกต่างกันกับการให้บริการในร้านค้าปลีกเครื่องสำอางที่มีระดับราคาใกล้เคียงกัน
  • การสร้างแบรนด์เพื่อจับตลาดในช่องทางการจัดจำหน่ายอื่นๆ การสร้างแบรนด์ใหม่เพื่อสร้างตลาดในช่องทางการจัดจำหน่ายช่องทางใหม่ เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดอีกรูปแบบหนึ่งของบริษัท บริษัทได้พัฒนาผลิตภัณฑ์แบรนด์เมด อิน เนเจอร์ และ บิวตี้ บุฟเฟต์ เพื่อจำหน่ายในโมเดิร์นเทรด ,ร้านคอนวีเนียนสโตร์และ เทรดดิชั่นนอล เทรดเพื่อเพิ่มฐานลูกค้า โดยในอนาคตบริษัทมีนโยบายการพัฒนาแบรนด์เพื่อจัดจำหน่ายสินค้าที่เกี่ยวกับความงามเพิ่มขึ้นและเข้าจับตลาดในช่องทางการจัดจำหน่ายอื่นๆอย่างต่อเนื่อง

การสร้างแบรนด์

บริษัทดำเนินธุรกิจค้าปลีกเครื่องสำอางและบำรุงผิว ซึ่งประกอบไปด้วย Shop Brand คือ Beauty Buffet และ Product Brands ซึ่งแต่ละแนวคิด มีความแตกต่างกัน ทั้งในด้านของ ตำแหน่งทางการตลาด ราคา การออกแบบ กลุ่มลูกค้าและช่องทางการจัดจำหน่าย ซึ่งทำให้กลยุทธ์ในการสร้างแบรนด์ แตกต่างกันออกไป

  • การสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัว : มุ่งเน้นในการสร้างให้แบรนด์เป็นที่จดจำของผู้บริโภค คือ การสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวให้กับแบรนด์ (Brand Identity) ซึ่งบริษัทได้ทำการออกแบบตัวผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ รวมทั้งการตกแต่งหน้าร้านให้สอดคล้องกับเอกลักษณ์ของแต่ละผลิตภัณฑ์ 
  • การสร้างความแตกต่างในการให้บริการ : บิวตี้ บุฟเฟต์ มิได้มุ่งเน้นเฉพาะการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์แต่เพียงอย่างเดียว แต่จะมีการนำเสนอแนวคิดด้านความงามครบวงจรควบคู่ไปด้วย (Beauty Solution) ซึ่งลูกค้าที่เข้ามาในร้านจะได้รับการให้บริการที่เป็นกันเอง พนักงานที่ผ่านการอบรมตามมาตรฐานของบริษัทสามารถแนะนำวิธีการแต่งหน้าให้เหมาะสมกับลักษณะเฉพาะของลูกค้าแต่ละราย รวมทั้งแนะนำผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับสภาพผิว โดยมีวัตถุประสงค์ให้ลูกค้าเกิดความสบายใจที่จะเลือกซื้อสินค้า เกิดความเชื่อมั่นและเข้าถึงสินค้าของบริษัทได้มากขึ้น 
  • การสร้างแบรนด์เพื่อจับตลาดในช่องทางการจัดจำหน่ายอื่นๆ : การสร้างแบรนด์ใหม่เพื่อสร้างตลาดในช่องทางการจัดจำหน่ายช่องทางใหม่ 

การสร้างแบรนด์

บริษัทดำเนินธุรกิจค้าปลีกเครื่องสำอางและบำรุงผิว ซึ่งประกอบไปด้วย Shop Brand คือ Beauty Buffet และ Product Brands ซึ่งแต่ละแนวคิด มีความแตกต่างกัน ทั้งในด้านของ ตำแหน่งทางการตลาด ราคา การออกแบบ กลุ่มลูกค้าและช่องทางการจัดจำหน่าย ซึ่งทำให้กลยุทธ์ในการสร้างแบรนด์ แตกต่างกันออกไป

  • การสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัว : มุ่งเน้นในการสร้างให้แบรนด์เป็นที่จดจำของผู้บริโภค คือ การสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวให้กับแบรนด์ (Brand Identity) ซึ่งบริษัทได้ทำการออกแบบตัวผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ รวมทั้งการตกแต่งหน้าร้านให้สอดคล้องกับเอกลักษณ์ของแต่ละผลิตภัณฑ์ 
  • การสร้างความแตกต่างในการให้บริการ : บิวตี้ บุฟเฟต์ มิได้มุ่งเน้นเฉพาะการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์แต่เพียงอย่างเดียว แต่จะมีการนำเสนอแนวคิดด้านความงามครบวงจรควบคู่ไปด้วย (Beauty Solution) ซึ่งลูกค้าที่เข้ามาในร้านจะได้รับการให้บริการที่เป็นกันเอง พนักงานที่ผ่านการอบรมตามมาตรฐานของบริษัทสามารถแนะนำวิธีการแต่งหน้าให้เหมาะสมกับลักษณะเฉพาะของลูกค้าแต่ละราย รวมทั้งแนะนำผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับสภาพผิว โดยมีวัตถุประสงค์ให้ลูกค้าเกิดความสบายใจที่จะเลือกซื้อสินค้า เกิดความเชื่อมั่นและเข้าถึงสินค้าของบริษัทได้มากขึ้น 
  • การสร้างแบรนด์เพื่อจับตลาดในช่องทางการจัดจำหน่ายอื่นๆ : การสร้างแบรนด์ใหม่เพื่อสร้างตลาดในช่องทางการจัดจำหน่ายช่องทางใหม่ 

การรักษาฐานลูกค้า

นอกเหนือจากการพัฒนาแนวคิดหรือแบรนด์ใหม่เพื่อเจาะตลาดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายในระดับต่างๆแล้ว การรักษาฐานลูกค้าเดิม หรือสร้างการซื้อซ้ำต่อเนื่อง ถือเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งในการดำรงอยู่ของธุรกิจและการสร้างเสถียรภาพของรายได้ ดังนั้นบริษัทจึงให้ความสำคัญกับกลยุทธ์ในการรักษาฐานลูกค้า ดังนี้

  • การเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงสินค้า
    บริษัทมีนโยบายในการขยายช่องทางจำหน่ายสินค้าให้เข้าถึงผู้บริโภคให้มากที่สุด และสอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคนอกจากการเปิดสาขาในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และกระจายออกสู่ภูมิภาคต่างๆ โดยปัจจุบันบิวตี้ บุฟเฟต์ มีสาขากระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ เพื่อให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงสินค้าและซื้อซ้ำได้โดยสะดวก รวมทั้งเกิดการจดจำภาพลักษณ์ของสินค้าได้ ส่วนผลิตภัณฑ์แบรนด์เมด อิน เนเจอร์ และบิวตี้ บุฟเฟต์ เพื่อจำหน่ายในโมเดิร์นเทรด ,ร้านคอนวีเนียนสโตร์และ เทรดดิชั่นนอล นอกจากนี้ บริษัทยังมีการจัดจำหน่ายผ่านระบบพาณิชย์อิเล็คทรอนิกส์ (E-Commerce) และ การขายสินค้าผ่านทาง ช่องทางโซเชียล มีเดีย (S-Commerce) สำหรับผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯเพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับลูกค้า รวมทั้งเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงสินค้า
  • รักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ควบคู่ไปกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างต่อเนื่อง
    คุณภาพของสินค้าเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างอัตราการซื้อซ้ำของลูกค้า หากสินค้ามีคุณภาพที่ดีและราคาที่เหมาะสม ผู้บริโภคจะเกิดความพึงพอใจและมีทัศนคติที่ดีต่อแบรนด์ของบริษัท ดังนั้นบริษัทจึงมุ่งเน้นการพัฒนาและรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับสภาพผิวและสีผิวของคนไทย โดยมีการทดสอบผลิตภัณฑ์ที่สั่งผลิตทุกครั้งเพื่อให้มั่นใจถึงระดับคุณภาพและความเหมาะสมต่อผู้ใช้ที่กำหนดไว้ นอกจากนี้บริษัทให้ความสำคัญต่อการออกผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองต่อกระแสนิยมของผู้บริโภค เนื่องจากตลาดเครื่องสำอางมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบความนิยมอยู่ตลอดเวลา ประกอบกับมีเครื่องสำอางแบรนด์ใหม่ๆจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากเกาหลี และญี่ปุ่น ที่เข้ามาจับตลาดในกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่ใกล้เคียงกับของบริษัท ดังนั้นบริษัทจึงมีกลยุทธ์ในพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยการสำรวจความนิยมทั้งตลาดในประเทศไทยและตลาดต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำมาพัฒนารูปแบบให้ทันต่อกระแสนิยมของผู้บริโภค โดยบริษัทมีนโยบายเปิดกว้างสำหรับการสรรหาผู้ผลิต ทั้งผู้ผลิตในประเทศซึ่งเป็นบริษัทของไทยที่มีศักยภาพหรือผู้ผลิตสัญชาติต่างประเทศ เช่น บริษัทญี่ปุ่นที่มาตั้งโรงงานในประเทศไทย รวมถึงการสั่งผลิตจากโรงงานที่ตั้งอยู่ในต่างประเทศ เช่น ประเทศเกาหลี เป็นต้น เพื่อให้สามารถพัฒนาคุณภาพสินค้าให้เหมาะสมกับการแข่งขัน และตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคได้รวดเร็วและครบถ้วนยิ่งขึ้น
  • การบริหารลูกค้าสัมพันธ์
    บริษัทพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการจัดเก็บฐานข้อมูลลูกค้าเพื่อวัตถุประสงค์ในการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ หรือ CRM (Customer Relationship Management) ซึ่งมีส่วนทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างเฉพาะเจาะจง โดยระบบการบริหารลูกค้าสัมพันธ์จะเริ่มต้นจากการส่งเสริมให้ลูกค้าสมัครสมาชิก จูงใจโดยการให้ส่วนลดสำหรับสมาชิก และมีโปรโมชั่นการสมัครสมาชิกโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในช่วงเปิดสาขา หรือเมื่อซื้อสินค้าครบตามมูลค่าที่กำหนดไว้ ซึ่งมีมูลค่าไม่สูงนัก เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าใช้สิทธิในการสมัคร ซึ่งเมื่อลูกค้าเข้าเป็นสมาชิกแล้ว บริษัทจะทำการเก็บฐานข้อมูลการซื้อสินค้าของลูกค้าแต่ละราย เช่น รูปแบบการซื้อ ความถี่ ผลิตภัณฑ์ที่ซื้อบ่อย ความเห็นต่อผลิตภัณฑ์ ความต้องการเฉพาะเจาะจงต่างๆ เป็นต้น

การรักษาฐานลูกค้า

การรักษาฐานลูกค้าเดิม หรือสร้างการซื้อซ้ำต่อเนื่อง ถือเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งในการดำรงอยู่ของธุรกิจและการสร้างเสถียรภาพของรายได้ ดังนั้นบริษัทจึงให้ความสำคัญกับกลยุทธ์ในการรักษาฐานลูกค้า ดังนี้

  • การเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงสินค้า : บริษัทมีนโยบายในการขยายช่องทางจำหน่ายสินค้าให้เข้าถึงผู้บริโภคให้มากที่สุด
  • รักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ควบคู่ไปกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างต่อเนื่อง
  • การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ : บริษัทพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการจัดเก็บฐานข้อมูลลูกค้าเพื่อวัตถุประสงค์ในการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ หรือ CRM (Customer Relationship Management) ซึ่งมีส่วนทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างเฉพาะเจาะจง 
  • การสร้าง “ Beauty Community ” การเข้าถึงผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของบริษัทผ่านทางสื่ออินเตอร์เน็ตรูปแบบต่างๆ ซึ่งทำให้เกิดการสื่อสารโต้ตอบกับลูกค้าได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และสามารถรับทราบความต้องการของแต่ละบุคคล ตลอดจนรับทราบถึงปัญหาของสินค้าหรือบริการ 

การรักษาฐานลูกค้า

การรักษาฐานลูกค้าเดิม หรือสร้างการซื้อซ้ำต่อเนื่อง ถือเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งในการดำรงอยู่ของธุรกิจและการสร้างเสถียรภาพของรายได้ ดังนั้นบริษัทจึงให้ความสำคัญกับกลยุทธ์ในการรักษาฐานลูกค้า ดังนี้

  • การเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงสินค้า : บริษัทมีนโยบายในการขยายช่องทางจำหน่ายสินค้าให้เข้าถึงผู้บริโภคให้มากที่สุด
  • รักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ควบคู่ไปกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างต่อเนื่อง
  • การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ : บริษัทพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการจัดเก็บฐานข้อมูลลูกค้าเพื่อวัตถุประสงค์ในการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ หรือ CRM (Customer Relationship Management) ซึ่งมีส่วนทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างเฉพาะเจาะจง 
  • การสร้าง “ Beauty Community ” การเข้าถึงผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของบริษัทผ่านทางสื่ออินเตอร์เน็ตรูปแบบต่างๆ ซึ่งทำให้เกิดการสื่อสารโต้ตอบกับลูกค้าได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และสามารถรับทราบความต้องการของแต่ละบุคคล ตลอดจนรับทราบถึงปัญหาของสินค้าหรือบริการ 

ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าของบริษัทฯ

มีทั้งหมด 5 ช่องทางหลักๆ ได้แก่

ช่องทางร้านค้าปลีก“บิวตี้ บุฟเฟต์”

ร้านค้าปลีก “บิวตี้ บุฟเฟต์”  เป็นแนวคิดในการนำเสนอรูปแบบการผสมผสานระหว่างแนวคิดของธุรกิจร้านอาหารบุฟเฟต์เข้ากับธุรกิจค้าปลีกเครื่องสำอาง โดยการประยุกต์แนวคิดของการรับประทานอาหารประเภทบุฟเฟต์ ที่ผู้บริโภคสามารถเลือกสรรสิ่งที่ต้องการมากที่สุดได้อย่างมั่นใจ เช่นเดียวกันกับการวางรูปแบบร้าน บิวตี้ บุฟเฟต์ ที่มีสินค้าหลากหลายให้เลือกสรร ร้านค้าปลีกบิวตี้ บุฟเฟต์ ณ สิ้นปี 2566 มีสาขาทั้งหมด 47 สาขา ตั้งอยู่ในศูนย์การค้า เนื่องจากเป็น ศูนย์กลางการคมนาคมและมีความสะดวกในการบริหารจัดการ เช่น เซ็นทรัลพลาซ่า เดอะมอลล์ รวมถึงซุปเปอร์มาเก็ตขนาดใหญ่ เช่น โลตัส บิ๊กซี เป็นต้น

ช่องทางร้านค้าปลีก“บิวตี้ บุฟเฟต์”

ร้านค้าปลีก “บิวตี้ บุฟเฟต์”  เป็นแนวคิดในการนำเสนอรูปแบบการผสมผสานระหว่างแนวคิดของธุรกิจร้านอาหารบุฟเฟต์เข้ากับธุรกิจค้าปลีกเครื่องสำอาง โดยการประยุกต์แนวคิดของการรับประทานอาหารประเภทบุฟเฟต์ ที่ผู้บริโภคสามารถเลือกสรรสิ่งที่ต้องการมากที่สุดได้อย่างมั่นใจ เช่นเดียวกันกับการวางรูปแบบร้าน บิวตี้ บุฟเฟต์ ที่มีสินค้าหลากหลายให้เลือกสรร โดยร้าน บิวตี้ บุฟเฟต์ จะมีหุ่นพ่อครัวตั้งอยู่ที่หน้าร้านเป็นเอกลักษณ์เพื่อดึงดูดลูกค้า ซึ่งถูกออกแบบมาให้เข้ากับสโลแกนของร้านคือ “The Most Delicious Beauty Shop in Town” หรือ “สวยอร่อยหลากหลายสไตล์บุฟเฟต์” 

ร้านค้าปลีกบิวตี้ บุฟเฟต์ ณ สิ้นปี 2564 มีสาขาทั้งหมด 50 สาขา ตั้งอยู่ในศูนย์การค้า เนื่องจากเป็น ศูนย์กลางการคมนาคมและมีความสะดวกในการบริหารจัดการ เช่น เซ็นทรัลพลาซ่า เดอะมอลล์ รวมถึงซุปเปอร์มาเก็ตขนาดใหญ่ เช่น โลตัส บิ๊กซี เป็นต้น

ช่องทางร้านค้าปลีก“บิวตี้ บุฟเฟต์”

ร้านค้าปลีก “บิวตี้ บุฟเฟต์”  เป็นแนวคิดในการนำเสนอรูปแบบการผสมผสานระหว่างแนวคิดของธุรกิจร้านอาหารบุฟเฟต์เข้ากับธุรกิจค้าปลีกเครื่องสำอาง โดยการประยุกต์แนวคิดของการรับประทานอาหารประเภทบุฟเฟต์ ที่ผู้บริโภคสามารถเลือกสรรสิ่งที่ต้องการมากที่สุดได้อย่างมั่นใจ เช่นเดียวกันกับการวางรูปแบบร้าน บิวตี้ บุฟเฟต์ ที่มีสินค้าหลากหลายให้เลือกสรร โดยร้าน บิวตี้ บุฟเฟต์ จะมีหุ่นพ่อครัวตั้งอยู่ที่หน้าร้านเป็นเอกลักษณ์เพื่อดึงดูดลูกค้า ซึ่งถูกออกแบบมาให้เข้ากับสโลแกนของร้านคือ “The Most Delicious Beauty Shop in Town” หรือ “สวยอร่อยหลากหลายสไตล์บุฟเฟต์” 

ร้านค้าปลีกบิวตี้ บุฟเฟต์ ณ สิ้นปี 2564 มีสาขาทั้งหมด 50 สาขา ตั้งอยู่ในศูนย์การค้า เนื่องจากเป็น ศูนย์กลางการคมนาคมและมีความสะดวกในการบริหารจัดการ เช่น เซ็นทรัลพลาซ่า เดอะมอลล์ รวมถึงซุปเปอร์มาเก็ตขนาดใหญ่ เช่น โลตัส บิ๊กซี เป็นต้น

ช่องทางอีคอมเมิร์ช

ช่องทางอีคอมเมิร์ช เป็นการทำธุรกิจโดยซื้อขายสินค้าแบบ B2C ( Business to Consumer) คือ ผู้ซื้อปลีกซื้อสินค้าจากผู้ขายผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ปัจจุบัน ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ในโลกออนไลน์ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ทำให้เปิดขายและรองรับลูกค้าได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง เพิ่มโอกาสในการขาย สำหรับช่องทาง e-commerce แบ่งได้ดังนี้

  1. ช่องทางการจำหน่ายผ่านเว็บไซต์ของบริษัทคือ www.beautybuffet.co.th ซึ่ง ซึ่งได้รับการตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดี
  2. ช่องทางการจัดจําหน่าย Social commerce ของบริษัท ซึ่งประกอบไปด้วย Facebook Instagram Line Tiktok เป็นต้น
  3. ช่องทางการจัดจำหน่าย Marketplace บริษัทนำสินค้าเขาจำหน่ายในแพลตฟอร์มชื่อดังของประเทศ ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2566 มีจำนวน 12 แพลตฟอร์ม เช่น shopee Lazada Konvy เป็นต้น

ช่องทางอีคอมเมิร์ช

ร้านค้าปลีก “บิวตี้ บุฟเฟต์”  เป็นแนวคิดในการนำเสนอรูปแบบการผสมผสานระหว่างแนวคิดของธุรกิจร้านอาหารบุฟเฟต์เข้ากับธุรกิจค้าปลีกเครื่องสำอาง โดยการประยุกต์แนวคิดของการรับประทานอาหารประเภทบุฟเฟต์ ที่ผู้บริโภคสามารถเลือกสรรสิ่งที่ต้องการมากที่สุดได้อย่างมั่นใจ เช่นเดียวกันกับการวางรูปแบบร้าน บิวตี้ บุฟเฟต์ ที่มีสินค้าหลากหลายให้เลือกสรร โดยร้าน บิวตี้ บุฟเฟต์ จะมีหุ่นพ่อครัวตั้งอยู่ที่หน้าร้านเป็นเอกลักษณ์เพื่อดึงดูดลูกค้า ซึ่งถูกออกแบบมาให้เข้ากับสโลแกนของร้านคือ “The Most Delicious Beauty Shop in Town” หรือ “สวยอร่อยหลากหลายสไตล์บุฟเฟต์” 

ร้านค้าปลีกบิวตี้ บุฟเฟต์ ณ สิ้นปี 2564 มีสาขาทั้งหมด 50 สาขา ตั้งอยู่ในศูนย์การค้า เนื่องจากเป็น ศูนย์กลางการคมนาคมและมีความสะดวกในการบริหารจัดการ เช่น เซ็นทรัลพลาซ่า เดอะมอลล์ รวมถึงซุปเปอร์มาเก็ตขนาดใหญ่ เช่น โลตัส บิ๊กซี เป็นต้น

ช่องทางอีคอมเมิร์ช

ร้านค้าปลีก “บิวตี้ บุฟเฟต์”  เป็นแนวคิดในการนำเสนอรูปแบบการผสมผสานระหว่างแนวคิดของธุรกิจร้านอาหารบุฟเฟต์เข้ากับธุรกิจค้าปลีกเครื่องสำอาง โดยการประยุกต์แนวคิดของการรับประทานอาหารประเภทบุฟเฟต์ ที่ผู้บริโภคสามารถเลือกสรรสิ่งที่ต้องการมากที่สุดได้อย่างมั่นใจ เช่นเดียวกันกับการวางรูปแบบร้าน บิวตี้ บุฟเฟต์ ที่มีสินค้าหลากหลายให้เลือกสรร โดยร้าน บิวตี้ บุฟเฟต์ จะมีหุ่นพ่อครัวตั้งอยู่ที่หน้าร้านเป็นเอกลักษณ์เพื่อดึงดูดลูกค้า ซึ่งถูกออกแบบมาให้เข้ากับสโลแกนของร้านคือ “The Most Delicious Beauty Shop in Town” หรือ “สวยอร่อยหลากหลายสไตล์บุฟเฟต์” 

ร้านค้าปลีกบิวตี้ บุฟเฟต์ ณ สิ้นปี 2564 มีสาขาทั้งหมด 50 สาขา ตั้งอยู่ในศูนย์การค้า เนื่องจากเป็น ศูนย์กลางการคมนาคมและมีความสะดวกในการบริหารจัดการ เช่น เซ็นทรัลพลาซ่า เดอะมอลล์ รวมถึงซุปเปอร์มาเก็ตขนาดใหญ่ เช่น โลตัส บิ๊กซี เป็นต้น

ช่องทางโมเดิร์นเทรด

ช่องทางโมเดิร์นเทรด บริษัทได้นำสินค้านำเสนอเข้าจำหน่ายในช่องทางโมเดิร์นเทรด ซึ่ง ณ 30 ธันวาคม 2566 มีสินค้าวางจำหน่ายมากกว่า 40 รายการ รวมทั้งหมด 20 ห้าง 3,279 จุดจำหน่าย โดยแยกออกเป็น 4 ประเภทดังต่อไปนี้

  1. Supermarket เช่น foodland Top MaxValu เดอะมอลล์ โกลเด้นเพลส เป็นต้น
  2. Convenience Store เซเว่น แคตตาล็อก CJ Express เป็นต้น
  3. Hypermarket เช่น บิ๊กซี โลตัส เป็นต้น
  4. Specialty Store เช่น Watson Eveandboy King Power Boost เป็นต้น

ช่องทางเจเนอรัล เทรด

ช่องทางเจเนอรัล เทรด บริษัทพัฒนาสินค้าออกสู่ตลาดแมส ( Mass Market ) โดยการแต่งตั้งตัวแทนจำหน่าย ซึ่งจะเน้นการขยายจุดจำหน่ายสู่ร้านค้าปลีกรายย่อยทั่วประเทศ

ช่องทางต่างประเทศ

เริ่มขยายตลาดต่างประเทศตั้งแต่ปี 2554 บริษัทมีสินค้าวางจำหน่ายหลายประเทศในเอเชีย ได้แก่ ประเทศจีน ไตหวัน ฮ่องกง อินโดนีเซีย เวียดนาม กัมพูชา พม่า ลาว มาลเซีย ฟิลิปปินส์ อินเดีย ญี่ปุ่น ผ่านตัวแทนจำหน่ายแต่ละประเทศ มีสินค้าวางจำหน่ายมากกว่า 100 SKUs ผ่านช่องทางการจัดจำหน่ายในรูปแบบของ Product Distributor, Shop License, Product License, Wholesaler

ตลาดประเทศจีน เป็นตลาดหลักที่สร้างยอดขายถึง 89% ของตลาดต่างประเทศ โดยรูปแบบการดำเนินธุรกิจในประเทศ จีน แบ่งเป็น 4 รูปแบบ

1. Product Distributor คือบริษัทแต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายสำหรับจำหน่ายสินค้าของบริษัท

2. Product License โมเดลธุรกิจนี้เริ่มต้นในช่วงไตรมาส 4 ปี 2563 บริษัทแต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายเพื่อร่วมมือผลิตและจำหน่ายสินค้าในประเทศจีน โดยบริษัทเป็นผู้ให้สิทธิ์ในตราสินค้ากับตัวแทนจำหน่ายที่แต่งตั้ง เพื่อไปทำการผลิตและจำหน่ายสินค้าโดยบริษัทเป็นผู้ควบคุมคุณภาพ การอออกแบบดีไซน์เพื่อให้ได้สินค้าตรงตามความต้องการ และในอนาคตมีแผนขยายทั้งตัวแทนจำหน่ายและจำนวนรายการสินค้า ปัจจุบัน สินค้า Product License มีจำนวน 12 รายการ ดังนี้

3. CBEC (Cross border e-commerce) มีการแต่งตั้งตัวแทนจำหน่าย เพื่อนำสินค้าเข้าจำหน่ายผ่านช่องทาง CBEC (Cross border e-commerce) ปัจจุบันมีตัวแทนจำหน่ายสำหรับช่องทางนี้ 3 ตัวแทนจำหน่าย วางจำหน่ายสินค้าทั้งหมด 9 แพลตฟอร์ม ดังนี้ COM, TMALL HK, Little Red Book, Pin Duo Duo, Kaola, Beidian, Jumei, VIP.COM, Aikucun.com

4. Wholesaler เป็นการขายส่งสินค้าไปขายในช่องทางต่างๆในประเทศจีน

ประเทศอื่น (ที่ไม่ใช่ประเทศจีน) คือ อินโดนีเซีย กัมพูชา เวียดนาม พม่า ลาว มาลเซีย ฟิลิปปินส์ อินเดีย ญี่ปุ่น  บริษัทมีนโยบายที่ขยายช่องทางการจัดจำหน่ายผ่านตัวแทนจำหน่ายในช่องทางโมเดิร์นเทรดและเทรดดิชั่นนอลเทรดมากขึ้น โดยปรับตัวแทนจำหน่ายของบริษัทให้สามารถทำตลาดในรูปแบบการจัดจำหน่ายผ่านตัวแทนในประเทศ นอกจากนี้ยังมีการจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์ควบคู่ไปด้วยซึ่งโมเดลดังกล่าวจะช่วยให้สินค้าของบริษัทกระจายสู่มือของผู้บริโภคในวงกว้าง